บทความน่ารู้
20 ธันวาคม 2565
ปากนกกระจอก
โรคปากนกกระจอก คือภาวะอักเสบบริเวณมุมปาก สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าอาการปากนกกระจอกจะไม่ได้มีความร้ายแรงหรือมีความรุนแรงมากมาย สามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ควรมองข้ามอาการนี้ เพราะปากนกกระจอกสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะความผิดปกติที่ริมฝีปากและสุขภาพในช่องปาก หากปล่อยไว้ไม่ดูแลรักษา ก็อาจนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่างๆได้
อ่านเพิ่มเติม : สงสัยมั้ย ตุ่มใสในปาก เกิดขึ้นได้อย่างไรและอันตรายหรือไม่
ปากนกกระจอก มีสาเหตุมาจากอะไร
เนื่องจากปากนกกระจอก เป็นอาการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณมุมปาก ดังนั้นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนี้จึงมาจากสุขภาพปากเป็นหลัก โดยสาเหตุที่พบบ่อยจะมีดังต่อไปนี้
- เชื้อราที่ผิวหนัง สำหรับเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอกก็คือเชื้อราแคนดิดา เป็นเชื้อราที่พบตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ช่องปาก ช่องคลอด หรือผิวหนังบริเวณที่อับชื้น เช่น มุมปาก ขาหนีบ เป็นต้น นอกจากนี้เชื้อราแคนดิดายังเป็นเชื้อราชนิดเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคผื่นผ้าอ้อมในเด็ก
- น้ำลาย สำหรับคนที่ชอบเลียปาก มักจะเป็นโรคปากนกกระจอกมากกว่าคนทั่วไป เพราะปากนกกระจอกเกิดจากน้ำลายที่หมักหมมอยู่มุมปาก ทำให้ปากเกิดการแห้งแตก เมื่อมีการเลียปากหรือมุมปาก ก็จะทำให้ปากเกิดเป็นแผล ถ้าไม่รีบรักษาก็อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ เกิดเป็นผื่น และเกิดการระคายเคืองได้
- ติดเชื้อที่ปาก เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอกบ่อยไม่แพ้กับสาเหตุอื่น โดยหากคนที่ติดเชื้อที่ปากอยู่ก่อนแล้วได้รับการกระตุ้นจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือโรคเริมเพิ่มเติม ก็จะทำให้เกิดเป็นแผลที่มุมปากพร้อมกับเกิดการอักเสบ
- มุมปากตก เป็นผลมาจากการที่ริมฝีปากบนคร่อมริมฝีปากล่างมากเกินไป หรืออาจเกิดจากผิวหนังรอบปากตกและห้อยลงมา ทำให้เกิดรอยย่นที่มุมปากลึก ส่งผลให้เกิดการหมักหมมของน้ำลายและเชื้อรา
- ปากแห้งแตก สาเหตุนี้ถือว่าเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดปากนกกระจอกเลยทีเดียว เพราะเมื่อใดก็ตามที่ปากมีอาการแห้งแตก ก็มักจะมีการเกิดแผลที่มุมปาก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษา ก็จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมา
- การจัดฟัน เพราะการจัดฟันจะต้องมีการใส่ยางสำหรับจัดฟันเอาไว้ เพื่อช่วยให้ฟันเรียงกันสวยงาม แต่การใส่ยางจัดฟันก็ทำให้คนที่จัดมีน้ำลายหมักหมมอยู่ที่มุมปาก ทำให้อาจเป็นโรคปากนกกระจอกได้
- กลุ่มโรคอักเสบระบบทางเดินอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆเช่นลำไส้อักเสบ โรคโครห์น มีโอกาสเป็นโรคปากนกกระจอกมากกว่าคนทั่วไป เพราะโรคต่างๆเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายโดยตรง
- ผิวแพ้ง่าย คนที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย มีโอกาสที่จะเป็นโรคปากนกกระจอกสูง เพราะภูมิต้านทานโรคทางผิวหนังต่ำกว่าคนปกติ ถ้าหากป่วยเป็นโรคผื่น โรคหรือภูมิแพ้ผิวหนังก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคปากนกกระจอกได้สูง
- ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เกิดขึ้นได้กับคนที่ขาดวิตามินบี 2 หรือธาตุเหล็ก เพราะคนที่ขาดสารอาหารทั้งสองอย่างนี้ จะมีริมฝีปากแห้งแตก เกิดการระคายเคือง จนทำให้มุมปากซีด เป็นรอย เป็นแผลที่มุมปาก
- โรคโลหิตจาง เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นโรคปากนกกระจอก เพราะโรคโลหิตจางจะทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ทำให้เกิดภาวะซีด ปากแห้งแตก นอกจากนี้คนที่เป็นโรคอย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคตับ โรคปอด ก็มีโอกาสเป็นโรคปากนกกระจอกได้เช่นเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม : มาดู สียางมงคล สำหรับคนจัดฟันในปี 2566 ที่จะถึงกันดีกว่า
อาการของ ปากนกกระจอก
สำหรับอาการปากนกกระจอก ในช่วงแรกจะมีการระคายเคืองที่มุมปาก จากนั้นจะเริ่มเจ็บปากและปวดแสบปวดร้อนตรงมุมปาก ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นที่มุมปากได้ทั้งสองข้าง หรือข้างใดข้างหนึ่ง แต่ความหนักของอาการจะมีความหนักแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในส่วนของอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆนอกเหนือจากการระคายเคืองจะมีดังนี้
- มีรอยแดงและมีเลือดออกที่มุมปาก ถ้ามีการเกาที่แผล เลือดก็จะยิ่งไหลและยิ่งทำให้แผลหายช้ากว่าเดิม
- เกิดอาการคันและแสบที่มุมปากตลอดเวลา และมักจะเจ็บมากในตอนอ้าปาก เพราะช่วงที่อ้าปาก แผลจะถูกเปิดออก ซึ่งอาการนี้ก็ส่งผลกระทบตอนทานอาหารเป็นอย่างมาก
- มุมปากซีด เปื่อยยุ่ย เป็นผลมาจากเชื้อราที่เกาะอยู่มุมปาก พร้อมกับน้ำลายที่หมักหมมอยู่มุมปาก เมื่อสะสมนานวันเข้าก็จะทำให้มุมปากเกิดการซีด และเปื่อยยุ่ย
- มีตุ่มพองใสที่มุมปาก สำหรับคนที่อาการหนัก จะเป็นแผลและมีของเหลวไหลออกมา หรือเกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก ซึ่งอาการเหล่านี้ก็สามารถสังเกตได้ง่าย
- เกิดการบวมบริเวณมุมปาก แม้การบวมจะไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อย แต่ถ้าไม่มีการดูแลรักษา ปล่อยให้แผลติดเชื้อและลุกลาม ก็มีโอกาสที่จะเกิดการบวม จนอาจต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์
วิธีการรักษาปากนกกระจอก เลือกใช้ลิปออแกนิค บำรุงปาก
แม้อาการปากนกกระจอกจะสร้างความรำคาญและสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก แต่ปากนกกระจอกรักษาได้ สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
- รักษาด้วยยาต้านเชื้อรา สำหรับยาต้านเชื้อราที่สามารถใช้รักษาปากนกกระจอกได้ก็คือยา ไมโครนาโซล ไนสแตนดิน โคลไตรมาโซล คีโตโคนาโซล เป็นต้น
- รักษาด้วยยาต้านแบคทีเรีย โดยปากนกกระจอกวิธีรักษาที่ใช้ได้ผล ก็คือการใช้ยาต้านแบคทีเรีย เช่น มิวพิโรซิน กรดฟูซิดิก เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 2 และธาตุเหล็ก เพราะวิตามินบี 2 และธาตุเหล็กจะช่วยรักษาและป้องกันปากนกกระจอกได้ สำหรับอาหารที่มีวิตามินบีและธาตุเหล็กก็จะมี ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ธัญพืช เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการเลียปาก แม้จะรู้ว่าปากแห้งไม่มีความชุ่มชื้น ก็ไม่ควรที่จะเลียปาก เพราะการเลียปากทำให้เกิดการอักเสบของแผล ทำให้แผลติดเชื้อ ส่งผลให้แผลหายช้ากว่าเดิม
- ใช้ลิปเพื่อให้ความชุ่มชื้น อีกหนึ่งวิธีการรักษาปากนกกระจอกที่ได้ผล เพราะลิปบำรุงจะช่วยคืนความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปากและมุมปาก ช่วยป้องกันปากแห้งแตก ป้องกันการระคายเคือง และยังทำให้ปากมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา
สำหรับใครที่มองหาผลิตภัณฑ์บำรุงความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปาก เราขอแนะนำ ลิปบำรุงปากของทาง Medent เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาโรคปากนกกระจอก แก้ปากแห้ง แตก หมองคล้ำ โดยในผลิตภัณฑ์จะมีส่วนผสมที่ได้จากธรรมชาติหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Aloe Butter ที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นไว้ที่ผิวและริมฝีปาก Coconut Oil ที่ช่วยลดการอักเสบของผิว Vitamin C ที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ป้องกันการแห้งแตกบริเวณริมฝีปากได้เป็นอย่างดี ใครมีความต้องการอยากได้ไปใช้ สามารถหาซื้อได้ที่หน้าเว็บไซต์ และหากใครที่สนใจผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากและฟันของทาง Medent สามารถเข้าไปสั่งซื้อได้ที่ MedentThailand หรือ Shopee ฯลฯ มีที่ไหนบ้างที่มีขาย คลิกเช็คเลย